เราเคยได้ยินคำว่า พระเอก นางเอก ตัวร้าย ตัวประกอบ ตัวตลก ดาวยั่ว ซึ่งเป็นคำภาษาไทยที่บ่งบอกถึงความมีรากฐานในศิลปะภาพยนตร์มานาน แต่ในตำราสากล มันมีการแยกประเภทของบทบาท กับประเภทของตัวละครที่เราควรเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ดังต่อไปนี้
Role Functions
เป็นการแยกเอาประเภทของบทบาทที่ตัวละครเราได้รับตามตำแหน่งในการเล่าเรื่อง แบ่งได้ต่อไปนี้
1.Protagonist
ตัวเอก พระเอก นางเอก คือตัวนำในเรื่องที่เราเล่า บ้างก็เรียกว่า Hero
ยกตัวอย่าง
โทนี่ สตาร์ค - Iron Man
วันเดอร์ วูแมน - Wonder Woman
2.Antagonist ตัวร้าย ผู้ร้าย นางร้าย คือตัวที่มาขัดแย้งกับตัวเอกของเรา
ยกตัวอย่าง
ธานอส - Avengers: Infinity Wars, Endgame
โจ๊กเกอร์ - The Dark Knight
3.Deuteragonist พระรอง นางรอง เป็นตัว Support ที่เด่นพอๆกับพระเอกนางเอก ถ้าภาษาละครก็เรียกคู่ 2
ยกตัวอย่าง
ฮันจีพยอง - Start-Up
โอซูอา - Itaewon Class
4.Sidekick (Best friend)
ตัวประกอบ เพื่อนพระเอก เพื่อนนางเอก เป็นเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ตัว
ยกตัวอย่าง
เนท - Spider-Man
ผู้พันโร้ด - Iron Man
5.Love interest
คู่รัก ของตัวเอก บางทีก็เป็นนางเอก แต่หนังไหนที่นางเอกเด่น คู่รักมักไม่ใช่พระเอก
ยกตัวอย่าง
สตีฟ เทรเวอร์ - Wonder Woman
เปปเปอร์ พ็อตต - Iron Man
6.Mentor ผู้ให้คำแนะนำ เป็นตัวที่ให้ปัญญาความกระจ่างกับตัวเอกของเรา พบได้ในหมู่ ฤาษี พ่อมดแม่มด แม่นม
ยกตัวอย่าง
แกนดัล์ฟ - Lord of the rings
เอเชี่ยน วัน - Dr.Strange
7.Comic Relief
ตลก ตัวฮา มักจะเอามาใช้ในมวลหมู่เพื่อให้สถานการณ์ผ่อนคลายลง และมักจะขาดไม่ได้ ในหนังประเภทผจญภัย หรือ Action
ยกตัวอย่าง
ลูอิส - Ant Man
Scrat - Ice Age
8.Catalyst ตัวเร่งปฏิกิริยา เวลาอะไรๆ กำลังจะดีมันมักจะมีอีหนึ่งที่ทำเขาพัง หรือแส่หาเรื่องให้เหตุการณ์มันเลวร้ายขึ้น เราเรียกตัวเสี้ยม ตัวปั่น
ยกตัวอย่าง
ป้าลัทธิ - The Mist
9.Foil เป็นคู่ตรงข้ามกับ Protagonist แต่ก็ไม่ถึงขั้นเป็นตัวร้าย มักจะถูกใช้เพื่อเป็นตัวสะท้อนให้กับตัวเอกถึงแง่ร้ายของตน หรือให้คนดูลุ้นว่าตัวเอกจะกลายเป็นแบบนี้ไหม
ยกตัวอย่าง
เบจิต้า - Dragon Ball Z
โลกิ - THOR
Character type
เวลาเราเขียนเรื่องและสร้างตัวละคร มันจะมีตัวละครที่เราให้ความสำคัญในฐานะตัวเอกตัวร้าย ซึ่งพวกนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่บางตัวก็มาเพื่อ Support การเดินทางของตัวเอก ตอนนี้เราจะแบ่งประเภทของตัวละครตามการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในเรื่องกันนะครับ
1.Dynamic Character ตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไปในการเล่าเรื่อง โดยมากก็จะเป็นตัวเอก ยกตัวอย่าง
Iron Man 1 เศรษฐีหนุ่มเพลย์บอย ถูกจับไปขัง ถูกช่วยเอาไว้โดยด็อกเตอร์ที่เป็นคนดี เมื่อรอดมาได้ก็รู้สึกว่าต้องทำอะไรเพื่อคนอื่นบ้าง จึงกลายเป็นไอรอนแมน ปราบคนพาลอภิบาลคนดี
2.Round Character ตัวละครที่เรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับเขาทั้งหมด และมองเห็นแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ต่างๆ แตกต่างกันที่ Dynamic Character จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีสถานการณ์บังคับ แต่ Round Character จะลื่นไหลไปได้ ยกตัวอย่าง
THOR 1 & Avengers เริ่มต้นจากการเป็นพรรคพวกกับธอร์พี่ชาย แต่พอได้รู้ความจริงว่าไม่ใช่ลูกแท้ ๆ ของโอดินก็หวังทำลายเผ่ายักษ์น้ำแข็งเอาใจพ่อ แต่ก็พ่ายแพ้ธอร์ จึงกลายเป็นตัวร้าย ไปขอความช่วยเหลือธานอส นำทัพบุกโลก กลบปมในใจที่ปกครองแอสการ์ดไม่ได้เลยจะปกครองโลกแทน แต่ก็แพ้อเวนเจอร์ส
3.Static Character ตัวละครที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น โดยมากจะเป็นตัวร้าย ยกตัวอย่าง
Thanos ยึดมั่นอุดมการณ์ในการลดประชากรครึ่งจักรวาลไม่มีเปลี่ยน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
4.Stock Character ตัวละครสูตรสำเร็จที่มีไว้ปรุงแต่งเรื่องราว และมักจะเป็นพวกตัวประกอบ หรือตลก ยกตัวอย่าง
ลูอิส - Ant Man
5.Symbolic Character ตัวละครที่มาแทนสัญลักษณ์บางอย่างที่จะสื่อถึงความคิดหรือ Theme ของหนัง อย่างเช่นพวกหนัง Zombies ที่จะมีคนโลภ คนดี คนมีความหวัง พวกนี้จะปรากฏขึ้นมาเพื่อตอกย้ำความคิดบางอย่างให้กับตัวนำหรือคนดู ยกตัวอย่าง
ตัวละครลุงหุ่นหมีใน Train to busan เป็นตัวแทนของคนดี ที่ยอมเสียสละตัวเองเพื่อให้คนส่วนมากยังรอดชีวิตต่อไปได้
เราเรียนรู้ฟังชั่นของบทบาทกับตัวละครเพื่อใช้พวกเขาในการขับเคลื่อนเรื่องราวของเรา และตำแหน่งของบทบาทก็ทำให้เราจัดลำดับความสำคัญของตัวละครได้ เมื่อเราลำดับความสำคัญได้คนดูก็จะรู้ว่าเราจะนำเรื่องไปทางไหนและเอาใจช่วยตัวละครเราอย่างไร ไม่ใช่แค่ตัวละครนำ ตัวละครสมทบของเราหากวางตำแหน่งดีๆ ก็จะกลายเป็นตัวละครที่น่าสนใจ และเมื่อน่าสนใจดาราก็อยากจะมาเล่นจ้า
Comments